iPrice เสริมผลการศึกษาข้อมูลของ Google & Temasek ด้วยเทรนด์สายงานอีคอมเมิร์ซของ SEA ใน 2 ปีที่ผ่านมา!

เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2561 Google & Temasek ได้ออกมาเผยผลการศึกษาข้อมูลโดยระบุว่า ธุรกิจอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) จะแตะ 240 พันล้านดอลลาห์สหรัฐในปี 2568 คาดคะเนจากอัตราเพิ่มขึ้นกว่า 40 พันล้านดอลลาห์สหรัฐเมื่อปีที่แล้ว (2560)

ผลการศึกษาข้อมูลยังทำให้คาดการณ์ได้อีกว่าอุตสาหกรรมอินเตอร์เน็ตใน SEA จะมีมูลค่าถึง 72 พันล้านดอลลาห์จากมูลค่าสินค้าขั้นต้น (GMV) ของปี 2561 ทำให้สามารถคาดคะเนมูลค่าการซื้อ-ขายของภาคธุรกิจอีคอมเมิร์ซโดยประมาณที่ 102 พันล้านดอลลาห์สหรัฐได้ภายในปี 2568 และเพื่อให้บรรลุเป้าหลายดังกล่าวสายงานอาชีพที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้งานอินเตอร์เน็ตจะต้องตระหนักและมีส่วนร่วมกับการดำเนินงานด้านธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่างเต็มที่

ด้วยข้อมูลเหล่านี้ เป็นเหตุให้ iPrice จัดทำการศึกษาข้อมูลเพื่อวิเคราะห์อัตราการจ้างงานของธุรกิจอีคอมเมิร์ซใน SEA ว่าจะเสริมให้ศักยภาพของประเภทธุรกิจนี้มีมูลค่าเหยียบ 240 พันล้านดอลลาห์สหรัฐหรือไม่ในปี 2568 iPrice ได้เก็บข้อมูลจากร้านค้าอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ในภูมิภาคอ้างอิงจาก Map of eCommerce ไตรมาสที่ 3 ผ่านเว็บไซต์ LinkedIn โดยครอบคลุมทั้งหมด 6 ประเทศด้วยกัน ได้แก่ ประเทศไทย, สิงคโปร์, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีมูลค่าอีคอมเมิร์ซเติบโตมากที่สุด

อัตราการเพิ่มขึ้นของพนักงานในปี 2016 – 2018

iPrice วิเคราะห์แนวโน้มการจ้างงานของร้านค้าอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ใน SEA พบว่า มีอัตราการเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยสูงถึง 808 คน ระหว่างไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ถึงไตรมาสที่ 3 ปี 2561 ซึ่งอัตราการเติบโตดังกล่าวสูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม สอดคล้องกับที่ Google & Temasek คาดการณ์ไว้ว่า การจ้างงานกลุ่มสายงานที่เชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมอินเตอร์เน็ตต้องเติบโตขึ้นอีก 10% ถึงจะช่วยเสริมศักยภาพของอุตสาหกรรมนี้ได้ดียิ่งขึ้น เมื่อผนวกกับผลการศึกษาข้อมูลของ iPrice จึงเปรียบเสมือนสัญญานเชิงบวก เพราะโดยพื้นฐานแล้วสายงานอาชีพด้านนี้จะค่อนข้างคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมมาทำงานด้วยยาก

การเปรียบเทียบอัตราการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นของร้านค้าอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จากข้อมูลการจ้างงานและจำนวนพนักงานปัจจุบันของ Shopee ที่เพิ่มขึ้นถึง 176% ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จาก 1,384 เป็น 3,831 คน (ไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ถึง ไตรมาสที่ 3 2561) หรือเฉลี่ย 3 คนต่อวัน ทำให้ Shopee กลายเป็นร้านค้าอีคอมเมิร์ซหน้าใหม่ที่แซงหน้าร้านค้าเจ้าถิ่นได้อย่างรวดเร็วในเวลาอันสั้น ซึ่งการขยายตัวครั้งใหญ่ของ Shopee นี้ เริ่มจากบริษัทแม่ชื่อดังนาม Garena ได้รับเงินระดมทุนก้อนใหญ่ราว 720 ล้านดอลลาห์สหรัฐช่วงปี 2559-2561 บวกเพิ่มอีก 575 ล้านดอลลาห์สหรัฐหลังจดทะเบียนในตลอดหลักทรัพย์ของนิวยอร์ก (NYSE) ในปี 2560

มากไปกว่านั้นกลุ่มร้านค้ายักษ์ใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันเฉียงใต้อย่าง Lazada, Tokopedia และ Bukalapak ก็มีอัตราการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็ยังมีร้านค้าอีคอมเมิร์ซรายใหญ่อย่าง Zalora ที่มีจำนวนพนักงานลดลงเล็กน้อยจาก 1,859 คน ในปี 2559 เป็น 1,715 คน ในปัจจุบัน

ถึงแม้จะมีข้อมูลชี้ชัดว่า Shopee กำลังเติบโตขึ้นแบบก้าวกระโดด แต่ร้านค้าเจ้าถิ่นชื่อดังอย่าง Lazada ก็ยังคงเป็นร้านค้าที่มีจำนวนพนักงานมากที่สุดถึง 6,659 คน หรือ 34% (คิดจากจำนวนพนักงานของร้านค้าอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ในภูมิภาคโดยประมาณ 19,549 คน) และปัจจุบัน Lazada ยังเปิดรับสมัครพนักงานอีกถึง 19 % (Shopee 62%, Bukalapak 4%, Bukalapak 3% และ Tokopedia 2%)

Operation คือสายงานอาชีพที่มีจำนวนพนักงานมากที่สุด

จากการศึกษาข้อมูลพบว่า แผนกที่มีจำนวนพนักงานมากที่สุดคือฝ่ายปฎิบัติการ (Operations) และการตลาด (Marketing) นอกเหนือไปกว่านั้นคือวิศวกรรม (Engineering) และไอที (IT) ประกอบกับการศึกษาข้อมูลทางการตลาดที่พบว่า ความท้าทายที่แท้จริงคือการจ้างผู้เชี่ยวชาญที่มีทักษะสูงในตำแหน่งต่าง ๆ เช่น Software Engineering, Digital Marketing, Data Science และ Product Marketing เนื่องจากตำแหน่งทางโลกดิจิทัลเหล่านี้ล้วนเป็นตำแหน่งที่ไม่มีการสรรหาและว่าจ้างมาก่อน

Google & Temasek จัดให้ปัญหาการขาดผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านอีคอมเมิร์ซเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องเร่งหาทางแก้ไขอันดับต้น ๆ จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่บริษัทอีคอมเมิร์ซรายใหญ่มักสรรหาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านทั้งในและนอกประเทศที่มากด้วยประสบการณ์หรือเคยทำงานเกี่ยวเนื่องกับโลกออนไลน์ แม้จะไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาในระยะยาวเพราะการสรรหาและว่าจ้างชาวต่างชาติล้วนต้องใช้ต้นทุนสูง มากไปกว่านั้นชาวต่างชาติส่วนใหญ่มักต้องการออกมาหาประสบการณ์นอกประเทศของตนเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ส่วนใหญ่มักอยู่ไม่เกิน 5 ปีในประเทศที่กำลังพัฒนา ทางออกที่ดีที่สุดคือเริ่มจัดอบรมสายอาชีพเหล่านี้กับคนในประเทศตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อส่งผลในระยะยาว

นักวิจัยทางการตลาดเผยว่า ทักษะที่ขาดที่สุดในสายงานนี้คือกระบวนการคิดแก้ไขปัญหาเชิงกลยุทธ์และเผยแพร่ความรู้ในสายงาน เนื่องจากผู้สำเร็จการศึกษาก่อนหน้าส่วนใหญ่จะไม่มีประสบการณ์ทำงานที่บริษัทอีคอมเมิร์ซต้องการโดยตรง โปรแกรมฝึกงานระหว่างการศึกษาก็มักไม่ได้เรียนรู้งานเหมือนพนักงานทั่วไป ต่างล้วนได้รับมอบหมายงานเล็ก ๆ ที่ไม่สามารถต่อยอดได้ในชีวิตการทำงานจริง ซึ่งเป็นสิ่งที่ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ควรปรับปรุง ต่างจากชาวอเมริกาที่นักศึกษาส่วนใหญ่มีการฝึกงานที่สมบูรณ์ ซึ่งสามารถนำประสบการณ์ที่ได้มาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้จริง

ในทำนองเดียวกัน Cynthia Luo (ซินเทีย หลัว) นักวิจัยการตลาด ได้แสดงความคิดเห็นว่า “… ผู้สำเร็จการศึกษาใหญ่มักขาดทักษะพื้นฐานก่อนเริ่มทำงานครั้งแรก การเป็นผู้สื่อสารที่ดีจะสามารถช่วยให้บุคลากรเหล่านี้ลดความตึงเครียดในการทำงานนำไปสู่ผลงานที่มีคุณภาพได้ในอนาคต”

สุดท้ายนี้ คนรุ่นต่อไปควรตระหนักถึงศักยภาพของธุรกิจอีคอมเมิร์ซเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการเริ่มต้นสายอาชีพออนไลน์ จะให้ดีต้องได้รับความร่วมมือจากเหล่าบริษัทอีคอมเมิร์ซในการสรรสร้างโครงการฝึกงานเพื่อช่วยผลิตบุคลากรที่ดีในสายอาชีพธุรกิจอีคอมเมิร์ซต่อไป

เขียนและวิเคราะห์ข้อมูลโดย ขนิษฐา สาสะกุล iPrice Group


ส่งต่อเรื่องนี้ให้เพื่อน!