การใช้สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตในปัจจุบันได้รับความนิยมโดยทั่วไปจนกลายเป็นความเคยชินอย่างหนึ่ง บางคนอาจถึงกับรู้สึกว่าชีวิตขาดอะไรไปเมื่อไม่สามารถใช้สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตได้แม้ในชั่วขณะหนึ่ง และเพราะพฤติกรรมการใช้งานอุปกรณ์สื่อสารเหล่านี้จึงทำให้เกิดการพัฒนาแบตเตอรี่สำรองขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาแบตหมด โดยเฉพาะการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่ากินแบตมาก การพกพาสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตควบคู่กับแบตเตอรี่สำรองจึงกลายเป็นเรื่องธรรมดาสามัญไปแล้ว ซึ่งโดยปกติแล้วก็ไม่ได้เป็นปัญหาแต่อย่างไรกับการขึ้นรถลงเรือ แต่เมื่อต้องเดินทางโดยเครื่องบิน หลายคนอาจเกิดความสงสัยว่าจะสามารถใช้งานโทรศัพท์และพกพาแบตสำรองขึ้นไปด้วยได้หรือไม่
เป็นที่รู้กันว่าแต่ก่อนเราจะไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานอุปกรณ์สื่อสารบนเครื่องบินเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดจากสัญญาณโทรศัพท์รบกวนระบบนำร่องของเครื่องบิน แต่ในปัจจุบันเริ่มมีการผ่อนปรนกฎนี้ให้สามารถใช้งานโทรศัพท์ (flight mode) ในขณะบินได้บ้างแล้ว ทีนี้หลายคนก็อาจเกิดความสงสัยว่าเราจะสามารถพกพาแบตเตอรี่สำรองหรือ Power Bank ขึ้นเครื่องด้วยได้หรือไม่? เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่า Power Bank นั้นมีความเสี่ยงที่จะระเบิดหรือทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้นั่นเอง
วันนี้ทางการบินไทยมีคำตอบมาให้ผ่าน Infographic ด้านล่างนี้ครับ
สรุปก็คือ สามารนำขึ้นได้แต่ต้องถือหรือใส่กระเป๋าติดตัวไปด้วยเท่านั้น ไม่สามารถใส่กระเป๋าโหลดใต้เครื่องได้ และต้องเป็น Power Bank ที่มีความจุไม่เกิน 20,000 mAh หรือถ้าไม่เกิน 32,000 mAh จะเอาไปได้ด้วยไม่เกิน 2 ก้อน แต่หากเป็น Power Bank ที่มีความจุเกิน 20,000 mAh ไม่อนุญาตให้นำขึ้นเครื่องทุกกรณีครับ
ปล. ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลอย่างเป็นทางการของ “การบินไทย” เท่านั้น สำหรับสายการบินอื่นๆ ควรสอบถามรายละเอียดหรือแนวทางปฏิบัติของแต่ละสายการบินก่อนนะครับ
ที่มา – Twitter การบินไทย
แถมท้ายให้อีกนิดกับข้อสงสัยที่ว่าทำไมแบตเตอรี่สำรองมักเกิดการระเบิด
นับแต่เริ่มมีการใช้สมาร์ทโฟนและแบตสำรองกันอย่างแพร่หลายก็เริ่มมีข่าวคราวเกี่ยวกับการชาร์จมือถือแล้วระเบิดบ้าง ชาร์จแบตสำรองแล้วระเบิดบ้าง หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมมันระเบิดกันง่ายจัง เพราะอะไร และเราจะหลีกเลี่ยงได้อย่างไร มือถือเรามีโอกาสระเบิดหรือไม่
จริงๆ แล้วตัวแบตเตอรี่เองตามธรรมดาจะไม่สามารถระเบิดได้ แต่ที่มันระเบิดเนื่องมาจากความร้อน การลัดวงจร ก๊าซไฮโดรเจนที่เกิดจากการคายประจุ และประกายไฟ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการระเบิดขึ้นได้ และสาเหตุที่จำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ก็เนื่องมาจากพฤติกรรมของผู้ใช้นั่นเอง ตัวอย่างเช่น
- ใช้เครื่องราคาถูก ซึ่งเป็นเครื่องที่ร้านค้านำมาย้อมแมวขายให้กับลูกค้าที่ไม่มีความรู้เรื่องเทคโนโลยีมากนัก อาจเป็นการประกอบขึ้นใหม่โดยที่อุปกรณ์ภายในเป็นคนละรุ่นกับรูปลักษณ์ภายนอก หรือที่เรียกกันว่า “เครื่องยำ” นั่นเอง อุปกรณ์ที่นำมาประกอบเหล่านี้อาจเป็นของปลอมบ้าง หรือเป็นของที่เกิดจากการซ่อมเปลี่ยนเครื่องอื่นๆ บ้าง
- ใช้แบตเตอรี่สำรองราคาถูก มีการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีระบบการตัดไฟ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการระเบิดได้
- ใช้อุปกรณ์เสริมที่ไม่ตรงตามรุ่นของมือถือหรือแบตสำรองที่ใช้อยู่ หรือใช้ของปลอม ไม่ได้มาตรฐาน เช่น Adapter สายชาร์จ เป็นต้น
- อุปกรณ์เกิดการชำรุด มีความผิดปกติ แต่ไม่รีบแก้ไขเปลี่ยนแปลง เช่น ทำเครื่องตกหล่น ซึ่งอาจทำให้วงจรด้านในเกิดความเสียหาย หรือแบตมือถือมีลักษณะบวม เครื่องร้อนผิดปกติ เป็นต้น
- และสาเหตุอื่นๆ เช่น การชาร์จแบตไปเล่นเครื่องไป ทำให้แบตร้อนผิดปกติ และอื่นๆ อีกมากมาย
ปัญหาการระเบิดของแบตเตอรี่หรือโทรศัพท์มือถือเป็นเรื่องอันตรายซึ่งอาจร้ายแรงมากจนเกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ โดยสาเหตุหลักแท้จริงแล้วคือการใช้อุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐานและพฤติกรรมการใช้งานที่ไม่ถูกต้อง หากเราใส่ใจในการเลือกซื้ออุปกรณ์โดยเน้นอุปกรณ์แท้ ตรงตามรุ่นกับของที่เราใช้ และมีพฤติกรรมการใช้งานที่ถูกต้อง ปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้งาน ก็สามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงในการระเบิดของอุปกรณ์ได้นั่นเอง
อย่าลืม ELOOP – แบตสำรอง ยอดนิยมสุดๆ ลดราคามากกว่าใครที่ ลาซาด้า >> ดูสินค้า